วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

Sunday, December 10, 2017

คำนำวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

คำนำ
GS ๔๑๑๐๕         รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย (Thai Constitutions and Political Institutions) เป็นรายวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีขอบข่ายในการศึกษากำหนดให้ “ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ความหมายและประเภทของรัฐธรรมนูญ ศึกษาปรัชญาของแนวคิดต่างๆ ของระบบรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย  หลักนิติธรรม (Rule of Law)  หลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทย  ระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทย”
ผู้เขียนได้แจกแจงหัวข้อในการสอนกระบวนวิชา รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย เป็นดังนี้ คือ 1) ความหมายและแนวคิดของรัฐธรรมนูญ, 2) ที่มาหรือแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ, 3) รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงร่างทางการเมืองการปกครอง, 4) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมือง, 5) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมือง, 6) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองในระบบประชาธิปไตย, 7) การรับรองสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ, 8) การรับรองความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ, 9) สิทธิเสรีภาพในทางปฏิบัติ,10) ประวัติและรัฐธรรมนูญไทย, 11) เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทย, 12) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมืองไทย, 13) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, และ 14) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งของไทย
ผู้สอนหวังว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอนกระบวนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ล้ำลึกและพิสดารมากยิ่งขึ้นไปอีก และผู้สอนขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณท่านผู้เขียนตำรับตำราและเอกสารทุกท่านที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียบเรียงเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย ตามที่ปรากฏนามในบรรณานุกรมท้ายเล่ม


พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร

4 comments:

  1. วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

    ReplyDelete
  2. วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

    ReplyDelete
  3. วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

    ReplyDelete
  4. วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

    ReplyDelete