วิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

Sunday, December 10, 2017

คำอธิบายรายวิชา


ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ความหมายและประเภทของรัฐธรรมนูญ ศึกษาปรัชญาของแนวคิดต่างๆของระบบรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทย ระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทย

The purposes of this course are to study history and evolution of constitution, meanings and different kinds of constitution, philosophy and various concepts of constitutionalism, concept on rights and freedom as well as the guarantee for the protection of rights and freedom, principle of democracy, rules of law, principle of decentralization and checks and balance, particularly the system of control of law not to be against constitution on the principle that the constitution is the highest law of the country as well as the structure and contents of Thai constitution, the political party system and the election system by the Thai constitution.

จุดมุ่งหมายของรายวิชา


เพื่อให้นักศึกษาสามารถรู้และเข้าใจรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย ซึ่งมีสาระครอบคลุม ประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ความหมายและประเภทของรัฐธรรมนูญ ปรัชญาของแนวคิดต่างๆของระบบรัฐธรรมนูญนิยม แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย หลักนิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจ หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทย ระบบพรรคการเมือง และระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทย 

หัวข้อและสาระคำบรรยายวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย


สัปดาห์ที่ 1 แนะนำวิชา 

สัปดาห์ที่ 2 ความหมายและแนวคิดของรัฐธรรมนูญ 
ครอบคลุมเรื่อง 1) นิยาม รัฐธรรมนูญ ในยุคกรีกโบราณ ยุคจักรวรรดิโรมัน ในแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม และ ในแนวคิดกฎหมายมหาชน รัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นกฎหมายมหาชน  2) รูปแบบและประเภทของรัฐธรรมนูญ

สัปดาห์ที่ 3 ที่มาหรือแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ 
ครอบคลุมเรื่อง 1) ของรัฐธรรมนูญเกิดจากปัจจัยกำหนด 4 ประการ 2) ที่มาของรัฐธรรมนูญ 5 แหล่ง 3)รัฐธรรมนูญของไทยที่ได้มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่ได้มาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สัปดาห์ที่ 4 รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงร่างทางการเมืองการปกครอง 
ครอบคลุมเรื่อง 1) รัฐธรรมนูญของรัฐโดยทั่วไปมีลักษณะร่วมของเนื้อหาสาระที่คล้ายคลึงกันอยู่ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับรัฐ 2) รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา 3) รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในกรณีของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ

สัปดาห์ที่ 5 รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมือง 
ครอบคลุมเรื่อง 1) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา 2)รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมืองในประเทศอังกฤษ 3) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศส

สัปดาห์ที่ 6 รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมือง 
ครอบคลุมเรื่อง 1) สาระสำคัญของลัทธิรัฐธรรมนูญ หรือ รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) 2)รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปหรือพัฒนาทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา 3) รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปหรือพัฒนาทางการเมืองในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส

สัปดาห์ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองในระบบประชาธิปไตย
ครอบคลุมเรื่อง 1) สิทธิเสรีภาพของพลเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา 2) สิทธิเสรีภาพของพลเมืองในประเทศสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) 3) ระเบียบความสงบเรียบร้อยของรัฐและสิทธิเสรีภาพของพลเมืองมีการสร้างสมดุลระหว่างกันอย่างไร

สัปดาห์ที่ 8 การรับรองสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ

ครอบคลุมเรื่ออง 1) สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวรัสเซียและประชาชาวฝรั่งเศส 2) สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวอังกฤษและประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา 3) สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทย

สัปดาห์ที่ 9 สอบกลางภาค 

สัปดาห์ที่ 10 การรับรองความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ 

ครอบคลุมเรื่อง 1) ความเสมอภาคในรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตย 2) ความเสมอภาคในประเทศอังกฤษ และประเทศรัสเซีย  3) ความเสมอภาคในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

สัปดาห์ที่ 11 สิทธิเสรีภาพในทางปฏิบัติ 
ครอบคลุมเรื่อง 1) สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในทางปฏิบัติในประเทศสหรัฐอเมริกา 2) สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในทางปฏิบัติในประเทศอังกฤษ 3) สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในทางปฏิบัติในประเทศไทย

สัปดาห์ที่ 12  ประวัติและรัฐธรรมนูญไทย
ครอบคลุมเรื่อง 1) สาเหตุที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ หรือเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเปลือง 2) ประเทศไทยมีระบอบการเมืองการปกครองที่จำแนกได้ถึง 3 ลักษณะ 3) ลักษณะสำคัญทางการเมืองการปกครองและลักษณะสำคัญที่เกี่ยวกับตัวรัฐธรรมนูญของประเทศ

สัปดาห์ที่ 13 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทย 
ครอบคลุมเรื่อง 1)รัฐธรรมนูญไทยที่ประกาศใช้ในช่วงที่ประเทศมีชื่อประเทศสยาม และรัฐธรรมนูญไทยที่ได้ประกาศใช้ในช่วงที่ประเทศมีชื่อว่าประเทศไทย  2) รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดได้ประกาศใช้ในช่วงต่างๆและ 3) คำปรารภของรัฐธรรมนูญไทยแต่ละฉบับ

สัปดาห์ที่ 14 รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมืองไทย 
ครอบคลุมเรื่อง 1) ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy)เป็นแนวทางที่จะต้องอิงอยู่กับหลักการสำคัญอะไรบ้าง  2) แนวทางในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมว่ามีแนวทางอะไรบ้าง 3).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ว่าได้มีข้อเอื้อต่อการพัฒนาทางการเมืองของไทยในระบอบประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง

สัปดาห์ที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 
ครอบคลุมเรื่อง 1) ประวัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25560  2) เนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25560  3) ข้อวิจารณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25560

สัปดาห์ที่ 16 พรรคการเมืองและการเลือกตั้งของไทย
ครอบคลุมเรื่อง 1) การเมืองไทยปัจจุบัน 2) รัฐธรรมนูญของไทย 3) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งของไทย
การนำเสนองานกลุ่มและสรุปบทเรียน

สัปดาห์ที่ 17 สอบปลายภาค


คำนำวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย

คำนำ
GS ๔๑๑๐๕         รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย (Thai Constitutions and Political Institutions) เป็นรายวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีขอบข่ายในการศึกษากำหนดให้ “ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ความหมายและประเภทของรัฐธรรมนูญ ศึกษาปรัชญาของแนวคิดต่างๆ ของระบบรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย  หลักนิติธรรม (Rule of Law)  หลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทย  ระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทย”
ผู้เขียนได้แจกแจงหัวข้อในการสอนกระบวนวิชา รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย เป็นดังนี้ คือ 1) ความหมายและแนวคิดของรัฐธรรมนูญ, 2) ที่มาหรือแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ, 3) รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงร่างทางการเมืองการปกครอง, 4) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมือง, 5) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมือง, 6) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองในระบบประชาธิปไตย, 7) การรับรองสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ, 8) การรับรองความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ, 9) สิทธิเสรีภาพในทางปฏิบัติ,10) ประวัติและรัฐธรรมนูญไทย, 11) เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทย, 12) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมืองไทย, 13) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, และ 14) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งของไทย
ผู้สอนหวังว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอนกระบวนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ล้ำลึกและพิสดารมากยิ่งขึ้นไปอีก และผู้สอนขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณท่านผู้เขียนตำรับตำราและเอกสารทุกท่านที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียบเรียงเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย ตามที่ปรากฏนามในบรรณานุกรมท้ายเล่ม


พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร